บันทึกครั้งที่ 6
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 19 กรกฎาคม 2556 เวลาเรียน 13:00 - 16:40 น.
เวลาเข้าสอน 13:00 น. เวลาเข้าเรียน 13:05 น. เวลาเลิกเรียน 14:45 น.
บันทึกการเรียน
1.การจัดประสบการณ์ทางภาาาที่เน้นทักษะทางภาษา Skill Approch
- ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
- การประสมคำ
- ความหมายของคำ
- นำคำมาประกอบเป็นประโยค
การแจกลูก |
- ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก
- ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
Kenneth Goodman
- เสนอแนวทางการสอนภาาาแบบธรรมชาติ
- มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
- แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
- ช่างสงสัย ช่างซักถาม
- มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
- ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- เลียนแบบคนรอบข้าง
2.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
- อาจารย์เปิดวีดีโอให้ดู ของ ดร.วรนาท รักสกุลไทย
ในวีดีโอนี้จะสอนให้เราได้รู้ว่าเด็กแต่ละคนจะเรียนรู้ไม่เท่ากันทั้งหมด เพราะฉะนั้นเราไม่ควรไปคาดหวังมากเกินไปว่าเด็กจะต้องเรียนรู้เร็วหรือรู้พร้อมกันทั้งหมด ควรสอนให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติ และจะฝึกทักษะด้านการฟังว่าเด็กแต่ละคนมีทักษะในการฟังเป็นอย่างไร
ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
Dewey / Pioget / Vygotsky / Haliday
- เด็กเรียนรู้ภาาาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
- เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
- อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
การสอนภาษาธรรมชาติ
- สอนแบบบรูณาการ / องค์รวม
- สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
- สอนสิ่งใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
- ทรอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับทำกิจกรรม
- ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
- ไม่บังคับให้เด้กเขียน
หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
นฤมน เนียมหอม (2540)
1.การจัดสภาพแวดล้อม
- ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
- หนังสือที่ใช้ จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
- เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2.การสื่อสารที่มีความหมาย
- เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
- เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
- เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
3.การเป็นแบบอย่าง
- ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
- ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
4.การตั้งความคาดหวัง
- ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
- เด็กสามารถอ่านเขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
5.การคาดคะเน
- เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา
- เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน
- ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
- ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
- ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
- ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7.การยอมรับนับถือ
- เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
- เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง
- ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน
- ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
- ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่ใช้ภาษา
- ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
- ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสามารถ
- เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ
การนำความรู้ที่ได้มาใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนเรื่องเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการสอนเด็กว่าควรนำไปสอนได้อย่างไรให้ถูกต้องและได้เรียนรู้เรื่องพัฒนาการของเด็กว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกันดั้งนั้นเราไม่ควรที่จะไปคาดหวังให้เด็กทุกคนเรียนรู้เหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น